เมนู

กถาว่าด้วยสัตว์ 4 เท้า


พึงทราบวินิจฉัย ในสัตว์ 4 เท้าต่อไป :- ชนิดแห่งสัตว์ 4 เท้า
ทั้งหมด ที่เหลือจากที่มาในพระบาลี พึงทราบว่า ปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยง. สัตว์
ทั้งหลายมีช้างเป็นต้น ปรากฏชัดแล้วแล. บรรดาสัตว์มีช้างเป็นต้นเหล่านั้น
เมื่อภิกษุลูบคลำช้างด้วยไถยจิต เป็นทุกกฏ. ทำให้ไหว เป็นถุลลัจจัย. ส่วน
ภิกษุรูปใด มีกำลังมาก ใช้ศีรษะทูนเอาลูกช้างตัวยังอ่อน ที่ต้นสะดือขึ้น
เพราะความเมากำลังให้เท้าทั้ง 4 และงวงพ้นจากดินแม้เพียงปลายเส้นผม,
ภิกษุรูปนั้น ต้องปาราชิก. แต่ช้างบางเชือกเขาผูกขังไว้โนโรงช้าง, บางเชือก
ยืนอยู่ ไม่ได้ผูกเลย บางเชือกยืนอยู่ภายในที่อยู่, บางเชือกยืนอยู่ที่พระลาน
หลวง.
บรรดาช้างเหล่านั้น ช้างเชือกที่ผูกคอช้างไว้ในโรงช้าง มีฐาน 5 คือ
เครื่องผูกที่คอ และเท้าทั้ง 4. สำหรับช้างเชือกที่เขาเอาโซ่เหล็กผูกไว้ที่คอ
และที่เท้าข้างหนึ่ง มีฐาน 6. ช้างเชือกที่เขาผูกไว้ที่คอและที่เท้าทั้ง 2 มีฐาน 7.
พึงทราบการทำให้ไหว และให้เคลื่อนจากฐาน ด้วยอำนาจแห่งฐานเหล่านั้น.
โรงช้างทั้งสิ้น เป็นฐานของช้างเชือกที่เขาไม่ได้ผูกไว้, เป็นปาราชิก ในเมื่อ
ให้ก้าวล่วงจากโรงช้างนั้นไป. พื้นที่ภายในที่อยู่ทั้งสิ้นนั่นแล เป็นฐานของ
ช้างเชือกยืนอยู่ภายในที่อยู่, เป็นปาราชิก ในเมื่อให้ล่วงเลยประตูที่อยู่ของช้าง
นั้นไป. พระนครทั้งสิ้นเป็นฐานของช้างเชือกที่ยืนอยู่ที่พระลานหลวง, เป็น
ปาราชิก ในเมื่อให้ช้างนั้นล่วงเลยประตูพระนครไป. สถานที่ยืนอยู่นั่นเอง
เป็นฐานของช้างเชือกที่ยืนอยู่ภายนอกพระนคร. ภิกษุเมื่อลักช้างนั้นไป พึง